การรักษาด้วยคลื่นกระแทก

          การรักษาด้วยคลื่นกระแทกใช้สำหรับรักษาเอ็นกล้ามเนื้อ, ข้อต่อ และกล้ามเนื้อ รวมถึงอาการปวดข้อศอกด้านนอก (tennis elbow) ซึ่งผลการศึกษาแบบ Double blind studies รายงานผลการรักษาในระดับดีเยี่ยม รวมทั้งอาการอักเสบของเอ็นกล้ามเนื้อเรื้อรังของข้อเข่าและอาการปวดกล้ามเนื้อรอบข้อไหล่, เอ็นร้อยหวายอักเสบ, เอ็นกล้ามเนื้อต้นขาด้านหลังอักเสบ และโรครองช้ำ ก็สามารถทำการรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ซึ่งรอยโรคที่กล่าวมาทั้งหมด ยากที่จะรักษาโดยใช้วิธีอื่นและอาจกลายเป็นอาการเรื้อรัง จากรายงานผลของผู้ป่วยที่รักษาด้วยคลื่นกระแทก มีอาการปวดลดลงและการหายของโรคเร็วขึ้นโดยไม่มีผลข้างเคียงอย่างมีนัยสำคัญ การรักษาด้วยคลื่นกระแทก (ESWT) ยังใช้เพื่อส่งเสริมการรักษากระดูกและรักษาภาวะการตายของกระดูก ซึ่งเป็นทางเลือกที่มีประสิทธิภาพในการรักษาภาวะกระดูกหักที่หายช้าจากการผ่าตัด การรักษาด้วยคลื่นกระแทก (ESWT) ใช้สำหรับการรักษาบาดแผลและแสดงผลเชิงบวกในผลลัพธ์ระยะสั้นและระยะยาวในผู้ป่วยเบาหวานที่ทุกข์ทรมานจากแผลที่เท้า

คลื่นกระแทกกระตุ้นการสร้างหลอดเลือดใหม่ ( Angiogenesis) และกระตุ้นการสร้างและการแบ่งตัวของเซลล์ประสาทใหม่ (Neurogenesis) กลไกทางสรีรวิทยาที่แน่นอนในขั้นตอนนี้ยังไม่มีระบุแน่ชัด แต่หลักการที่อธิบ่ยได้แน่ชัดคือ กระทำให้เกิดการบาดเจ็บในระดับเซลล์รื้อเนื้อเยื่อ (microtrauma) ส่งเสริมกระบวนการอักเสบและกระบวนการแคแทบอลิซึม (catabolic process) ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเนื้อใหม่และกระตุ้นกลไกการรักษาบาดแผล

ต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาไปที่ www.electrotherapy.org

อุปกรณ์การรักษาด้วยคลื่นกระแทกของ Enraf-Nonius 

Enraf-Nonius Endopuls 811
เครื่องให้การรักษาด้วยคลื่นกระแทกขนาดกระทัดรัด
open_75x100_over

 

ข้อบ่งใช้และข้อห้ามสำหรับการรักษาด้วยคลื่นกระแทก

ข้อบ่งใช้

  • โรคเอ็นข้อศอกอักเสบ (Radial and ulnar epicondylitis)
  • ภาวะเอ็นข้อไหล่อักเสบจากหินปูน (Calcific tendonitis of the shoulder / shoulder problems)
  • การบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ (Status post muscular injuries)
  • ภาวะเอ็นลูกสะบ้าอักเสบเรื้อรัง (Chronic patellar tendonitis)
  • โรคข้อเข่านักกระโดด (Jumper's knee)
  • อาการบาดเจ็บของเอ็นร้อยหวาย (Achillodynia)
  • พังผืดใต้ฝ่าเท้าอักเสบ หรือรองช้ำ (Plantar fasciitis)
  • กระดูกงอกบริเวณส้นเท้า (Heel spurs)
  • รักษาจุดกดเจ็บของกล้ามเนื้อเช่นกล้ามเนื้อคอ
  • รักษาจุดกดเจ็บของกล้ามเนื้อ เช่น กล้ามหลัง, อาการปวดหลังจากกล้ามเนื้อ
  • อาการอักเสบบริเวณสะโพก, โรคถุงน้ำรอบข้อสะโพกอักเสบ (Bursitis Trochanterica)
  • เยื่อหุ้มกระดูกอักเสบ (Periostitis) / กล้ามเนื้อหน้าแข้งอักเสบ (shin splints)

ข้อห้าม

  • โรคหลอดเลือดที่อยู่ในหรือใกล้บริเวณที่รักษา
  • การติดเชื้อเฉพาะที่ในบริเวณที่รักษา
  • บริเวณรอบเนื้องอกร้ายหรือไม่ร้าย (malignant or benign tumours)
  • รักษาโดยตรงบนพื้นผิวกระดูกอ่อน (cartilage) หรือใกล้ข้อต่อเล็กๆของกระดูกสันหลัง (facet joint)
  • รักษาโดยตรงผ่านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ฝังไว้ เช่น เครื่องกระตุ้นหัวใจ เครื่องปั๊มยาแก้ปวด เป็นต้น
  • ในพื้นที่ซึ่งพลังงานกลในรูปแบบของการสั่นสะเทือนอาจนำไปสู่ความเสียหายของเนื้อเยื่อ เช่น การปลูกถ่ายโลหะหลังจากการแตกหัก

 

โดยทั่วไปที่เราไม่แนะนำให้รักษา

  • หากมีความผิดปกติของการแข็งตัวของเลือด หรือผู้ป่วยได้รับการรักษาที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมการแข็งตัวของเลือด
  • ในระหว่างตั้งครรภ์
  • ในผู้ป่วยที่มีโรคทางระบบประสาทส่งผลให้การทำงานของการปรับขนาดหลอดเลือด (vasomotor) บกพร่องในบริเวณที่ทำการรักษา
  • เหนือช่องที่เต็มไปด้วยอากาศ เช่น การรักษาบนกระดูกสันหลังบริเวณอก เป็นต้น
  • ในเด็ก โดยเฉพาะบริเวณ epiphyseal plates

 

ต้องมีการดูแลสำหรับผู้ป่วย

  • มีการรับรู้ความรู้สึกที่ผิดปกติ
  • มีความผิดปกติของระบบประสาทส่วนกลางอย่างรุนแรง
  • ภายใต้อิทธิพลของยา และ/หรือแอลกอฮอล์ เนื่องจากการไหลเวียนของความเครียดและการตอบสนองการรักษาไม่เพียงพอไม่สามารถแยกได้

คำแนะนำสำหรับการใช้งาน โปรดศึกษาคำแนะนำสำหรับการใช้งาน สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อบ่งใช้, ข้อห้าม, คำเตือน และคำแนะนำ

Downloads    |   Legal notices     |     Privacy policy     |     Contact