Pulsed ShortWave Therapy : คลื่นสั้นแบบเป็นช่วง

Pulsed ShortWave Therapy เป็นการรักษาด้วยไฟฟ้าความถี่สูงจากการแปลงความถี่ในช่วง 27.12 x 106 Hz โดยมีความเกี่ยวข้องกับความยาวคลื่นของหลอดสูญญากาศที่ 11.06 เมตร ส่วนคลื่นสั้นที่มีช่วงความยาวระหว่าง 10 และ100 เมตร ปัจจุบันเรียกว่า 'short waves’ หรือมีชื่อดั้งเดิมที่เรียกว่า 'ultra-short waves’ ซึ่งในความเป็นจริงแล้วคำที่เหมาะสมที่ใช้เรียกการรักษาด้วยคลื่นประเภทนี้คือ  '11 -meter waves’  โดยช่วงความถี่นี้ได้ถูกกำหนดขึ้นในการทำข้อตกลงลงระหว่างประเทศ (ครั้งแรกที่ Atlantic City ในปี 1947 ) เพื่อที่จะป้องกันการรบกวนสัญญานคลื่นรูปแบบอื่น ของสัญญานคลื่น RF

สนามแม่เหล็กไฟฟ้า
จากงานวิจัยของนักวิจัยชาวฟิสิกซ์, เคมีวิทยา Faraday (ในปี 1791 - 1867 ) และนักฟิสิกซ์ Maxwell (ในปี 1831 - 1879) ที่ทราบกันดีว่าคลื่นสนามไฟฟ้านั้นก่อให้เกิดคลื่นสนามแม่เหล็ก แต่ในทางตรงกันข้ามคลื่นสนามแม่เหล็กนั้นก็จะสร้างคลื่นสนามไฟฟ้าด้วย Maxwell จึงมีข้อสันนิษฐานว่าพลังงานไฟฟ้าแม่เหล็ก สามารถแพร่กระจายเข้าไปในช่องว่างระหว่างคลื่นไฟฟ้าแม่เหล็กได้ หลังจากนั้นในปี 1878 การมีอยู่ของคลื่นไฟฟ้าแม่เหล็กได้ถูกนำเสนอขึ้นโดย นักฟิสิกซ์ Hertz (ในช่วงปี 1857 - 1894) และเป็นผู้ที่ได้ทำการศึกษาการเกิดขึ้นของคลื่นดังกล่าว

Pulsed : การปล่อยพลังงานแบบช่วง
PSWT มีลักษณะการทำงานแบบเดียวกันกับความถี่แบบเดิมของ SWD ที่ 27.12 MHz  การปล่อยพลังงานของเครื่องแบบช่วงนั้น ช่วงเวลาที่ปล่อยพลังงานออกมาจะมีความสั้นกว่าช่วงเวลาที่ไม่ได้ปล่อย นั่นจึงหมายความว่าพลังงานที่ถูกส่งไปยังผู้ป่วยนั้นจะค่อนข้างต่ำ หรือขึ้นอยู่กับ peak power  และสามารถใช้พลังงานที่สูงได้ (โดยทั่วไปจะใช้ peak power ประมาณ 150 – 200 วัตต์ สำหรับเครื่องที่ทันสมัยสามารถส่งผ่านพลังงานได้สูงสุดถึง 1,000 วัตต์) การควบคุมการทำงานของเครื่องสามารถเปลี่ยนแปลงได้โดยผู้ใช้งาน และพลังงานเฉลี่ยที่ส่งไปยังผู้ป่วย จะมีช่วงของพารามิเตอร์ที่ช่วยควบคุมโหมดการส่งพลังงาน ซึ่งอาจอ้างอิงจากงานวิจัยในปัจจุบันได้ว่าพารามิเตอร์ที่สำคัญที่สุดคือพลังงานเฉลี่ย

ผลการรักษาเกิดขึ้นได้อย่างไร ?
เชื่อได้ว่าผลการตอบสนองของระบบชีววิทยาต่อพลังงานไฟฟ้าแม่เหล็กอาจจะเป็นผลของพลังงานความร้อนหรือไม่มีผลของพลังงานความร้อนทั้งคู่โดยที่ความร้อนจะค่อยๆปรากฎขึ้นในเนื้อเยื่อหลังจาก 20 นาทีของการใช้ SWT ซึ่งจะพบพลังงานสูงสุดที่นาทีที่ 15 หลังจากนั้นระดับพลังงานค่อย ๆ ลดลงอย่างช้า ๆ ในอัตรา 1 ต่อ 5 นาที  (Draper et al 1999, Valtonen et al 1973)

ในการรักษานั้นอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นที่มากกว่า 1°C นั้นช่วยรักษาอาการอักเสบระดับน้อย และ อุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นระหว่าง 2 and 3°C จะช่วยในการลดปวดและกล้ามเนื้อหดเกร็ง อย่างไรก็ตามถ้าหากอุณหภูมิเพิ่มขึ้น 3–4°C นั้นจะเป็นประโยชน์ในการเปลี่ยนแปลงความยืดหยุ่นของเนื้อเยื่อ (Lehmann 1990, Prentice & Draper 2001) ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวในระดับเซลล์ทันทีที่เสน็จสิ้นการใช้เครื่องมือ แต่ถ้าอุณหภูมินั้นลดต่ำกว่า 1°C ผลการรักษาขั้นต้นของพลังงานสนามแม่เหล็กแบบช่วงจะปรากฎบนระดับของผนังเซลล์ (cell membrane level) ที่เกี่ยวข้องกับการแลกเปลี่ยนสารระหว่างเซลล์ ซึ่งในบางงานวิจัยนั้นสนับสนุนผลของ ‘non thermal’ effects. ที่ระดับของผนังเซลล์ (Luben 1997, Cleary 1997).

ควรใช้ในบริเวณไหน ?

ผลที่เกิดขึ้นจะมีความคล้ายคลึงมากกับผลเชิงกลของ Ultrasound, laser รวมถึง pulsed shortwave ซึ่งทั้งสามเครื่องมือนี้ต่างก็มีผลการรักษาเกิดขึ้นที่ระดับของผนังเซลล์ (cell membrane level) ซึ่งผลที่ปรากฎขึ้นระหว่างเซลล์ เป็นปัจจัยสำคัญของผลการรักษา โดยกล่าวได้ว่าการปล่อยพลังงานลงไปนั้นจะมีผลน้อยหรือแทบไม่มีผลกระทบต่อเซลล์ปกติเลย ถ้าเทียบกับเซลล์ที่ผิดปกตินั้นจะตอบสนองต่อระดับพลังงานต่ำได้ดีกว่าเซลล์ปกติ  ผลทางคลินิคของ PSWT เป็นผลสำคัญมากที่เกี่ยวข้องกับระยะการอักเสบ และ ระยะของการซ่อมแซม ซ่อมสร้างในระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ รวมถึงเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน ผลการรักษามีความคล้ายคลึงกับผลการรักษาของ ultrasound และ laser therapy ดังนั้นปัจจัยสำคัญของผลในการรักษาทางคลินิคนั้นมีความสัมพันธ์กันกับพลังงานที่ถูกดูดซึมลงไป

ทำไมต้อง PSWT ?

เนื่องจากลักษณะธรรมชาติของพลังงานแบบช่วงนั้น เครื่องมือสามารถปล่อยผ่านกำลังพลังงานสูงสุดเป็นวัตต์ และตามด้วยช่วงพักในขณะเวลาหนึ่ง ซึ่งผลของการรักษานั้นเนื้อเยื่อของผู้ป่วยจะได้รับการกระตุ้นจากพลังงานอย่างเข้มข้น อย่างไรก็ตามการรักษานี้ยังมีความปลอดภัย และให้ความสะดวกสบายแก่ผู้ป่วยอีกด้วย  โดยทาง Bélanger ได้เรียกการรักษานี้ว่า Pulsed ShortWave Diathermy (PSWD) ถึงแม้ว่า ผลของการรักษานี้จะประกอบไปด้วยผลของความร้อน(thermal effects) และ แบบไม่หวังผลของความร้อน (non-thermal effects) 

Bélanger ได้กล่าวถึงข้อมูลหลักฐานจากการรักษาถึงผลการรักษาทงกายภาพบำบัด (ในปี ค. 2010)   โดยพบว่า :

มีข้อมูลหลักฐานที่ใช้ในการแนะนำที่เพิ่มขึ้นในช่วงสองทศวรรษ ที่ผ่านมาในการใช้ PSWD อาจจะให้ผลการรักษาที่ดีกว่า CSWD ในแง่ของทางเลือกการส่งผ่านพลังงาน มีคำอธิบายความเป็นไปได้ของการเปลี่ยนแปลงของ PSWD นี้ มีความเกี่ยวข้องกับรังสีที่เหลือคงค้างอยู่น้อยกว่า ทำให้ปลอดภัยต่อผู้ใช้งาน ( Tzima et al., 1994 ) 

เหตุผลอื่นในการใช้  PSWD มีการศึกษางานวิจัยในทางคลินิคเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก และได้ตีพิมพ์ในไม่กี่ปีที่ผ่านมาว่า PSWD  กำลังวัตต์ต่ำสามารถเพิ่มผลการตอบสนองต่อความร้อนลึกลงไปในเนื้อเยื่อของร่างกายมนุษย์ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

Guo et al. ( ในปี ค.. 2011 ) ได้เขียนรายงานของพลังงานคลื่นความถี่วิทยุแบบช่วง (Pulsed RadioFrequent Energy) นั้นเหมือนกับ PSWT

ซึ่ง PRFE นั้นเป็นการรักษามีประสิทธิภาพ และง่ายในการรักษาซึ่งนิยมใช้ในการรักษาผู้ป่วยทางคลินิคในหลายพื้นที่ โดยจะใช้การรักษาเนื้อเยื่อเพื่อลดอาการปวดและบวม (ทั้งหลังการผ่าตัด และผู้ที่ไม่ได้รับการผ่าตัด) และจะช่วยส่งเสริมในการรักษาแผลนั้นโดยตรง ส่วนผลข้างเคียงในการรักษาจะมีน้อยมาก ถือว่าการรักษานี้ยังเป็นการรักษาแบบภายนอก ซึ่งสามารถรักษาที่บริเวณเนื้อเยื่อที่เป็นเป้าหมายได้โดยตรงให้มีประสิทธิภาพ จากการศึกษาพบว่ามีความเกี่ยวเนื่องกับ อาการปวด และบวม จากการรักษาหลังการผ่าตัดและที่ไม่ได้รับการผ่าตัด ซึ่งการรักษาด้วย PRFE มีรายงานว่าไม่เพียงแค่ช่วยในการรักษาอาการปวด และอาการบวมเท่านั้น แต่ยังช่วยให้ได้รับการฟื้นฟูนั้นเร็วขึ้น ใช้เวลาสั้นลง และยังช่วยลดช่วงเวลาที่ต้องรักษาตัวในโรงพยาบาลอีกด้วย ซึ่งจะเป็นประโยชน์มากในยุคที่ค่ารักษาพยาบาลนั้นแพงขึ้นมาก และมีประสิทธิภาพที่จะช่วยรักษาแผลที่หายยากอีกด้วย ดังเช่นในผู้ป่วยเบาหวาน และมีแผลเรื้อรัง  ยังเป็นตัวเลือกหนึ่งที่ช่วยรักษาแผลได้อย่างดีในกลุ่มของแผลที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาแบบทั่วไป ด้วยจำนวนของคนไข้เบาหวานที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในกลุ่มประชากรของผู้สูงอายุก็สูงขึ้นด้วยเช่นกัน ด้วยประสิทธิภาพในการรักษาของคลินิคในหลายพื้นที่ทำให้มีการจำกัดความเสี่ยงน้อยลง และใช้งานง่าย สะดวกรวดเร็วมีต้นทุนต่ำ ซึ่งเครื่องมือทางคลินิคอย่าง PRFE therapy จะมีความต้องการเพิ่มขึ้นอย่างแพร่หลายในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า 

การวัดปริมาณรังสี

เครื่อง Curapuls 670  มีความสัมพันธ์ระหว่าง Peak Power, Pulse Frequency, Pulse duration และ ประสิทธิภาพของ Average Power ที่กำหนดไว้ล่วงหน้า และมีความเกี่ยวข้องกับอาการเรื้อรังตามข้อบ่งชี้ Curapuls 670 สามารถทำในช่วง acute (a-thermal) ถึงช่วง chronic (thermal) ซึ่งจะสัมพันธ์กับพลังงานเฉลี่ยของเครื่องมือ  Curapuls 670 จะทำการปรับค่าพารามิเตอร์ที่ถูกต้องให้อัตโนมัติ เช่น pulse duration, pulse frequency และ peak power ให้กับผู้ใช้งาน

ด้วยการตั้งค่าพลังงานที่ต่ำ  เครื่องนี้จะเหมาะเป็นพิเศษที่จะรักษาโดยไม่หวังผลความร้อน (non-thermal) คนไข้ในกลุ่ม acute และในการศึกษางานวิจัยล่าสุด  ได้แสดงให้เห็นว่าวิธีการรักษานี้เหมาะสมที่จะใช้ลดปวดหลังการผ่าตัด และส่งเสริมการซ่อมแซมซ่อมสร้างของแผลหลังการผ่าตัด อย่างไรก็ตามเครื่องมือนี้สามารถใช้เพื่อหวังผลการรักษาของความร้อนได้เช่นกัน (thermal effects) ซึ่งยังมีความปลอดภัยเมื่อใช้พลังงานที่สูง  และใช้ได้ผลดีมากในกลุ่มของการปวดเรื้อรังอย่างเช่น osteoarthritis

ต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติม

Want to know more?

Please go to www.electrotherapy.org for more information.

 

เครื่องให้การรักษาด้วยคลื่นสั้นของ Enraf – Nonius

Enraf-Nonius Curapuls 670
"รุ่นยอดนิยมสำหรับการรักษาด้วยคลื่นสั้นแบบช่วง"
open_75x100_over
Enraf-Nonius Curapuls 970 (1)
"อุปกรณ์สำหรับการรักษาด้วยคลื่นสั้นแบบต่อเนื่องและแบบช่วง"
open_75x100_over

 

ข้อบ่งใช้ และข้อห้ามในการใช้เครื่องให้การรักษาด้วยคลื่นสั้น

ข้อบ่งใช้ดังกล่าวที่พบว่ามีประสิทธิภาพในการรักษาด้วย Pulsed Shortwave Therapy

  • เร่งกระบวนการซ่อมแซมของแผล
  • เพิ่มความยืดหยุ่นของเนื้อเยื่อ
  • ลดอาการบวม
  • ลดอาหารห้อเลือด
  • ลดอาการอักเสบ
  • ลดอาการยึดติดของข้อติด
  • ลดอาการปวด

ข้อห้าม

เครื่อง CURAPULS ห้ามใช้ในกรณีต่อไปนี้

  • ผู้ป่วยที่ใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ (Pacemakers)
  • สตรีตั้งครรภ์
  • มีแผลเลือดไหล
  • มะเร็ง
  • วัณโรคระยะลุกลาม
  • ห้ามให้การรักษา บริเวณลำตัวและอุ้งเชิงการในสตรีขณะมีประจำเดือน
  • มีปัญหาเรื่องระบบไหลเวียนเลือดอย่างรุนแรง เช่น เนื้อเยื่อขาดเลือด, หลอดเลือดอุดตัน
  • MRI (ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา) ในบริเวณที่ต้องทำการรักษา
  • ผู้ป่วยที่ไม่เข้าใจ และไม่สามารถให้ความร่วมมือแก่นักกายภาพได้
  • ใส่เหล็กในร่างกาย
  • บริเวณที่กระดูกยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่
  • บริเวณเนื้อเยื่อพิเศษ (เช่น ตา และ อัณฑะ เป็นต้น)
  • มีไข้
  • ติดเชื้อแบคทีเรีย
  • โรคหัวใจ
  • มีความผิดปกติในการรับรู้ความรู้สึกอุณหภูมิ

 งานวิจัยที่เกี่ยวของสำหรับเครื่องให้การรักษาด้วยคื่นสั้น (Shortwave Therapy)

  • Belanger A.Y., Therapeutic Electrophysical Agents, Evidence Behind Practice. Third Edition. Wolters Kluwer | Lippincott Williams & Williams, 2014, ISBN: 9781469869698
  • Draper, D. O., K. Knight, T. Fujiwara, and J. C. Castel. “Temperature Change in Human Muscle during and after Pulsed Short-Wave Diathermy.” The Journal of Orthopaedic and Sports Physical Therapy 29, no. 1 (January 1999): 13-18; discussion 19-22. https://doi.org/10.2519/jospt.1999.29.1.13.
  • Guo, Lifei, Nicole J. Kubat, and Richard A. Isenberg. “Pulsed Radio Frequency Energy (PRFE) Use in Human Medical Applications.” Electromagnetic Biology and Medicine 30, no. 1 (March 2011): 21–45. doi:10.3109/15368378.2011.566775
  • Kumaran, Binoy, and Tim Watson. “Radiofrequency-Based Treatment in Therapy-Related Clinical Practice – a Narrative Review. Part I: Acute Conditions.” Physical Therapy Reviews 20, no. 4 (August 2015): 241–54. doi:10.1179/1743288X15Y.0000000016.
  • Kumaran, Binoy, and Tim Watson. “Radiofrequency-Based Treatment in Therapy-Related Clinical Practice – a Narrative Review. Part II: Chronic Conditions.” Physical Therapy Reviews 20, no. 5–6 (November 2, 2015): 325–43.
  • Laufer, Y., and G. Dar. “Effectiveness of Thermal and Athermal Short-Wave Diathermy for the Management of Knee Osteoarthritis: A Systematic Review and Meta-Analysis.” Osteoarthritis and cartilage / OARS, Osteoarthritis Research Society 20, no. 9 (September 2012): 957–66. doi:10.1016/j.joca.2012.05.005.
  • Lehmann J, DeLateur B (1990) Therapeutic heat, In Lehmann J (ed) Therapeutic heat and cold pages 470-474, 4tedn. Baltimore, MD, Williams & Wilkins, Lightwood R (1989) The remedial electromagnetic field. J biomed Eng 11: 429-436
  • Michaelson, S.M. and Elson, E.C. (1996) Modulated fields and “window” effects, in Polk, C. and Postow, E., (eds.), Biological effects of electromagnetic fields. Boca Raton, FL, CRC Press.
  • Paul A. Cacolice, Jason S. Scibek, RobRoy Martin. “Diathermy: A Literature Review of Current Research and Practices.” Orthopaedic Practice Vol. 25;3:13
  • Vavken, Patrick., Ferdi Arrich, Othmar Schuhfried, and Ronald Dorotka. “Effectiveness of pulsed electromagnetic field therapy in the management of osteoarthritis of the knee.” J Rehabil Med 2009; 41: 406–411

Downloads    |   Legal notices     |     Privacy policy     |     Contact