การรักษาด้วยกระแสไฟฟ้า

การรักษาด้วยกระแสไฟฟ้าคือการใช้พลังงานไฟฟ้าสำหรับการรักษาทางการแพทย์ การรักษาด้วยไฟฟ้า ประกอบด้วยวิธีการรักษาที่หลากหลาย เช่นกระแสไฟฟ้า ช็อตเวฟ-ไมโครเวฟ และอัลตร้าซาวด์ ในส่วนของ

" การรักษาด้วยกระแสไฟฟ้า "  จึงจำกัดหัวข้อกระแสไฟฟ้าที่ใช้เพื่อการรักษาดังนี้

  • Interferential Currents
  • Biphasic Pulsed Currents (TENS)
  • Premodulated currents
  • Russian Stimulation
  • Micro Currents
  • High Voltage
  • Diadynamic Currents
  • Galvanic Currents
  • Faradic Currents

รูปแบบกระแสไฟเหล่านี้ ในอุปกรณ์การรักษาด้วยกระแสไฟฟ้าของ Enraf-Nonius ได้รับการออกแบบเพื่อจัดการความเจ็บปวด ช่วยกระตุ้นกล้ามเนื้อ และการสร้างเนื้อเยื่อใหม่

 

ต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติม

สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ใน www.electrotherapy.org

 

เครื่องให้การรักษากระแสไฟฟ้าของ Enraf-Nonius

Enraf-Nonius Endomed 482
"ครบทุกรูปแบบกระแส, ใช้งานง่าย, รวดเร็วและเป็นทางเลือกสำหรับการรักษา ด้วยกระแสไฟฟ้าที่เชื่อถือได้"
open_75x100_over
Enraf-Nonius Endomed 484
"การรักษาด้วยกระแสไฟฟ้าแบบ 4 ช่อง"
open_75x100_over
Enraf-Nonius Endomed 182 & 182V
"อุปกรณ์ระดับมืออาชีพที่ถูกที่สุดสำหรับกระแสอินเตอร์เฟอเรนเชียล (IFC) และกระแส TENS"
open_75x100_over
Enraf-Nonius Vacotron 460
"Vacotron 460 เป็นอุปกรณ์เสริมสำหรับ Endomed 482 หรือ Sonopuls 492 (รุ่นใหม่)"
open_75x100_over
Enraf-Nonius Endomed 684V & 682V (1)
"การรักษาด้วยกระแสไฟฟ้าแบบ 4 หรือ 2 ช่อง"
open_75x100_over

 

เครื่องให้การรักษากระแสไฟฟ้าของ Enraf-Nonius

Endomed 482

ครบทุกรูปแบบกระแส, ใช้งานง่าย, รวดเร็วและเป็นทางเลือกสำหรับการรักษา

ด้วยกระแสไฟฟ้าที่เชื่อถือได้

Endomed 484

การรักษาด้วยกระแสไฟฟ้าแบบ 4 ช่อง

Endomed 182 & 182V

อุปกรณ์ระดับมืออาชีพที่ถูกที่สุดสำหรับกระแสอินเตอร์เฟอเรนเชียล (IFC) และกระแส TENS

Vacotron 460

Vacotron 460 เป็นอุปกรณ์เสริมสำหรับ Endomed 482 หรือ Sonopuls 492 (รุ่นใหม่)

Endomed 684V และ 682V (1)

การรักษาด้วยกระแสไฟฟ้าแบบ 4 หรือ 2 ช่อง

 

 

ข้อบ่งใช้และข้อห้ามในการรักษาด้วยกระแสไฟฟ้า

การจัดการความเจ็บปวด

การจัดการความเจ็บปวดคือการกระตุ้นด้วยกระแสไฟฟ้าเพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวด

 ข้อบ่งใช้การจัดการความเจ็บปวด

  • บรรเทาอาการปวดเรื้อรัง, ยาวนานและรักษายาก การจัดการความเจ็บปวดที่เกี่ยวข้องกับภาวะหลังจากการบาดเจ็บรุนแรง หรือภาวะหลังจากการผ่าตัด

ข้อห้ามการจัดการความเจ็บปวด

  • อุปกรณ์นี้ไม่ควรใช้เพื่อบรรเทาอาการปวดจนกว่าจะหาสาเหตุหรือมีการวินิจฉัย
  • อุปกรณ์นี้ไม่ควรใช้กับผู้ป่วยที่ติดเครื่องกระตุ้นการเต้นของหัวใจ
  • อุปกรณ์นี้ไม่ควรใช้กับผู้ป่วยที่เป็นมะเร็ง
  • ควรหลีกเลี่ยงการวางตำแหน่งอิเล็กโทรดที่ใช้กระแสไฟฟ้า ไปยังบริเวณ Sinus carotid  (คอด้านหน้า)
  • ควรหลีกเลี่ยงการวางตำแหน่งอิเล็กโทรดที่ใช้กระแสไฟฟ้าผ่านศีรษะ
  • ควรหลีกเลี่ยงการวางตำแหน่งอิเล็กโทรดที่ใช้กระแสไฟฟ้าผ่านบริเวณหน้าอก (การปล่อยกระแสไฟฟ้าเข้าสู่หัวใจ อาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ )

คำเตือนการจัดการความเจ็บปวด

  • ผลของกระแสไฟฟ้า TENS ไม่ได้เป็นการรักษาเพื่อลดความเจ็บปวดบริเวณจุดต้นกำเนิด
  • อุปกรณ์นี้ถูกใช้สำหรับระงับอาการเจ็บปวดแต่ไม่ได้เป็นการรักษาอาการปวด ผู้ป่วยควรได้รับคำแนะนำในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่เหมาะสมหากอาการปวดนั้นเป็นกลไลการป้องกันตนเองจากการบาดเจ็บ
  • ผลในการรักษาระยะยาว ของการกระตุ้นด้วยไฟฟ้าในกลุ่มโรคเรื้อรังไม่ทราบแน่ชัด
  • การรักษาด้วยการกระตุ้นไฟฟ้า ยังไม่เป็นที่รองรับในเรื่องความปลอดภัยของผู้ป่วยที่มีภาวะการตั้งครรภ์
  • กระตุ้นด้วยกระแสไฟฟ้า ไม่ควรใช้กับบริเวณที่มีอาการบวม, อาการติดเชื้อ หรือบริเวณที่มีอาการอักเสบของผิวหนัง เช่น phlebitis, thrombophlebitis, เส้นเลือดขอด เป็นต้น
  • ดูเพิ่มเติมบทที่ 3  คำแนะนำเกี่ยวกับข้อควรระวัง สำหรับคำเตือนทั่วไปและข้อควรระวัง

การกระตุ้นกล้ามเนื้อ

การกระตุ้นกล้ามเนื้อ คือการใช้การกระตุ้นด้วยกระแสไฟฟ้าเพื่อรักษาความผิดปกติในการทำงานของกล้ามเนื้อ

ข้อบ่งชี้ของการกระตุ้นกล้ามเนื้อ

  • การผ่อนคลายของกล้ามเนื้อหดเกร็ง
  • การป้องกัน หรือการชะลอการฝ่อลีบของกล้ามเนื้อ
  • การเพิ่มการไหลเวียนโลหิตเฉพาะที่
  • การเรียนรู้ซ้ำ ๆ ของกล้ามเนื้อ
  • การกระตุ้นหลังจากการผ่าตัดทันทีของกล้ามเนื้อน่อง เพื่อป้องกันการอุดตันในเส้นเลือด
  • การรักษาสภาพ หรือเพิ่มช่วงของการเคลื่อนไหว
  • ภาวะการกลืนลำบาก

ข้อห้ามของการกระตุ้นกล้ามเนื้อ

  • อุปกรณ์นี้ไม่ควรใช้กับผู้ป่วยที่ติดเครื่องกระตุ้นการเต้นของหัวใจ
  • อุปกรณ์นี้ไม่ควรใช้กับผู้ป่วยที่เป็นมะเร็ง
  • ควรหลีกเลี่ยงการวางตำแหน่งอิเล็กโทรดที่ใช้กระแสไฟฟ้า ไปยังบริเวณ Sinus carotid  (คอด้านหน้า)
  • ควรหลีกเลี่ยงการวางตำแหน่งอิเล็กโทรดที่ใช้กระแสไฟฟ้าผ่านศีรษะ
  • ควรหลีกเลี่ยงการวางตำแหน่งอิเล็กโทรดที่ใช้กระแสไฟฟ้าผ่านบริเวณหน้าอก (การปล่อยกระแสไฟฟ้าเข้าสู่หัวใจ อาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ )

หมายเหตุ

อย่างไรก็ตามการติดขั้วกระตุ้นสำหรับการรักษา Dysphagia (ภาวะกลืนลำบาก) ต้องอยู่ห่างเพียงพอจากบริเวณไซนัสแคโรทีส ซึ่งนักกายภาพบำบัดต้องปฏิบัติตามแนวทางที่ได้อธิบายไว้ในหนังสือคู่มือบำบัด " Dysphagia (โดย H.C.A. Bogaardt SLP, PhD) "

คำเตือนของการกระตุ้นกล้ามเนื้อ

  • ผลข้างเคียงระยะยาวของการกระตุ้นด้วยไฟฟ้าเรื้อรังยังไม่ทราบแน่ชัด
  • การรักษาด้วยการกระตุ้นไฟฟ้า ยังไม่เป็นที่รองรับในเรื่องความปลอดภัยในผู้ป่วยที่มีภาวะการตั้งครรภ์
  • กระตุ้นด้วยกระแสไฟฟ้า ไม่ควรใช้กับบริเวณที่มีอาการบวม ,อาการติดเชื้อ หรือบริเวณที่มีอาการอักเสบของผิวหนัง เช่น phlebitis, thrombophlebitis, เส้นเลือดขอดเป็นต้น

Downloads    |   Legal notices     |     Privacy policy     |     Contact